ฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อนแก้ไขได้อย่างไร ฉีดสลายได้หรือไม่?
ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อน เป็นปัญหาที่พบได้ค่อนข้างมาก จากกรณีการฉีดฟิลเลอร์ปลอมหรือฉีดฟิลเลอร์โดยแพทย์ที่ไม่มีประสบการณ์ อีกทั้งการที่ฟิลเลอร์เป็นก้อนยังสามารถเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้อีกมากมาย ในบทความนี้ Infiniz Clinic จะพาทุกคนไปเรียนรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้ฟิลเลอร์เป็นก้อนใต้ตา รวมไปถึงวิธีป้องกันและวิธีแก้ไขปัญหานี้ ปัจจัยที่ทำให้ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อนมีอะไรบ้าง? ปัจจัยที่ทำให้ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อนมีหลายประการ โดยปัจจัยที่สามารถพบได้บ่อยมีดังต่อไปนี้ 1. ใช้ปริมาณฟิลเลอร์ไม่เหมาะกับพื้นที่บริเวณที่ฉีด ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วกลายเป็นก้อนอาจเกิดจากการที่ใช้ปริมาณฟิลเลอร์ไม่เหมาะกับบริเวณที่ฉีด มีการฉีดในปริมาณมากเกินไปสำหรับพื้นที่ใต้ตา โดยเมื่อเวลายิ้มกล้ามเนื้อบริเวณใต้ตาจะหดตัวขึ้น ทำให้ฟิลเลอร์ใต้ผิวหนังที่มีปริมาณมากเกินไปจนไม่เรียบเนียนไปกับผิว จะถูกดันขึ้นจนเห็นเป็นก้อนได้ 2. ฉีดฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐานหรือเป็นฟิลเลอร์ปลอม หากฉีดฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ผ่านการรับรองจากอย. หรือเป็นฟิลเลอร์ปลอม ก็สามารถทำให้การฉีดฟิลเลอร์ใต้ตากลายเป็นก้อนได้เช่นกัน เนื่องจากฟิลเลอร์ปลอมมักเป็นฟิลเลอร์ชนิดถาวรหรือซิลิโคน ซึ่งสามารถจับตัวกันเป็นก้อนและไหลย้อยไม่เป็นทรงหลังจากเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่ง แต่ไม่สลายไปเองตามธรรมชาติเหมือนฟิลเลอร์มาตรฐาน อีกทั้งฟิลเลอร์ปลอมยังไม่สามารถฉีดสลายเหมือนฟิลเลอร์มาตรฐานได้อีกด้วย จะต้องทำการผ่าตัดหรือขูดฟิลเลอร์ออกเท่านั้น 3. ฉีดฟิลเลอร์ไม่ถูกตำแหน่ง การฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาไม่ถูกตำแหน่ง เช่น การฉีดบริเวณเหนือกล้ามเนื้อ หรือการฉีดบริเวณผิวชั้นตื้น ก็สามารถทำให้ฟิลเลอร์ใต้ตากลายเป็นก้อนได้ เนื่องจากผิวบริเวณใต้ตาจะมีความบางเป็นอย่างมาก หากฉีดไม่ถูกตำแหน่งก็จะสามารถสังเกตเห็นว่าเป็นก้อนได้อย่างง่ายดาย 4. แพทย์ที่ให้บริการมีประสบการณ์ไม่เพียงพอ หากแพทย์ที่ให้บริการการฉีดฟิลเลอร์มีความรู้เกี่ยวกับฟิลเลอร์และประสบการณ์ในการฉีดมาไม่มากพอ ก็อาจทำให้ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาพลาดแล้วกลายเป็นก้อนบวมได้ โดยอาจเกิดขึ้นได้จากการฉีดฟิลเลอร์ผิดชั้นกล้ามเนื้อ การเลือกฟิลเลอร์ในยี่ห้อและรุ่นที่ไม่เหมาะสมกับปัญหาผิวที่ต้องการแก้ไข เป็นต้น 5. พื้นผิวบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์บางจนเกินไป โดยปกติพื้นผิวบริเวณใต้ตาจะมีความบางอยู่แล้ว แต่ถ้าหากคนไข้มีลักษณะเป็นคนผิวบางโดยธรรมชาติอยู่ด้วย ก็จะสามารถสังเกตเห็นฟิลเลอร์ใต้ตาในลักษณะเป็นก้อนหรือเงาสีเขียวได้ แม้จะฉีดฟิลเลอร์ในปริมาณและตำแหน่งที่ถูกต้องก็ตาม อาการหลังจากฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อน อาการหลังจากฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อน สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณีคือ กรณีที่เกิดการอักเสบซึ่งมีความอันตราย กับกรณีที่ไม่ได้เกิดการอักเสบ เป็นแค่ผลข้างเคียงหลังฉีดฟิลเลอร์เท่านั้น โดยวิธีสังเกตความผิดปกติจากการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อนมีดังนี้ กรณีเกิดการอักเสบหลังจากฉีดฟิลเลอร์ หากฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเกิดเป็นก้อนในลักษณะที่มีการอักเสบ จะมีอาการปวดมากกว่าปกติซึ่งควรรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการรักษาและแก้ไขความผิดปกติโดยเร็วที่สุด โดยอาการอักเสบที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัด ได้แก่ กรณีไม่เกิดการอักเสบหลังจากฉีดฟิลเลอร์ อาการฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อนสามารถเกิดในลักษณะที่ไม่มีการอักเสบได้เช่นกัน โดยหลังฉีดฟิลเลอร์ช่วง 3 วันแรก ผิวบริเวณใต้ตาจะสามารถเห็นเป็นก้อนบวมได้เป็นปกติ แต่จะไม่มีอาการเจ็บปวดหรือบวมแดงร่วมด้วย และเมื่อเวลาผ่านไปก้อนบวมก็จะค่อย ๆ ยุบลงไปเอง หากก้อนใต้ตามีอาการแย่ลงหรือไม่ยุบลงตามปกติหลังผ่านไป 2 สัปดาห์แล้ว ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาและแก้ไขความผิดปกติต่อไป วิธีป้องกันไม่ให้ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วกลายเป็นก้อน อาการฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อนสามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ ด้วยการเลือกทำหัตถการกับแพทย์ผู้มีประสบการณ์ในการฉีดฟิลเลอร์ เนื่องจากแพทย์ที่เคยทำหัตถการมามาก จะสามารถเลือกใช้ปริมาณฟิลเลอร์และเลือกตำแหน่งชั้นผิวที่ฉีดได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังต้องใช้ฟิลเลอร์ที่ได้มาตรฐาน เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดก้อนใต้ตาที่ไม่สามารถฉีดสลายออกได้จากฟิลเลอร์ปลอม แก้ปัญหาฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อนได้อย่างไรบ้าง? สามารถแก้ปัญหาฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อนได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ 1. ขูดฟิลเลอร์ ในกรณีที่คนไข้ไม่ได้เลือกใช้ฟิลเลอร์ผ่านมาตรฐานที่ทำมาจากสาร Hyaluronic Acid หากฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อนขึ้น ก็จำเป็นที่จะต้องทำการขูดฟิลเลอร์ออก เนื่องจากฟิลเลอร์ปลอมจะไม่สามารถฉีดสลายหรือสลายไปเองตามธรรมชาติได้ อีกทั้งการขูดฟิลเลอร์ออกก็สามารถเอาออกได้เพียง 60-70% เท่านั้น ไม่สามารถเอาออกได้ทั้งหมดจนกลับคืนสู่สภาพผิวปกติ 2. ผ่าตัดเพื่อนำฟิลเลอร์ออก การผ่าตัดเพื่อนำฟิลเลอร์ออก จะใช้ในกรณีที่ฟิลเลอร์ใต้ตามีลักษณะเป็นก้อนขนาดใหญ่และแข็งมาก ซึ่งเกิดได้จากการที่คนไข้ได้รับการฉีดฟิลเลอร์ปลอมเข้าไปเป็นระยะเวลานาน จนเกิดเป็นพังผืดเกาะอย่างเหนียวแน่น และก้อนฟิลเลอร์มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะสามารถขูดออกได้ จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการผ่าตัดเอาออกเท่านั้น 3. ฉีดสลายฟิลเลอร์ หากฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อนจากเหตุปัจจัยต่าง ๆ แล้วต้องการที่จะฉีดสลายฟิลเลอร์ออก ก็สามารถทำได้ต่อเมื่อฟิลเลอร์ที่ฉีดเข้าไปเป็นฟิลเลอร์ผ่านมาตรฐานที่ทำมาจากสาร Hyaluronic Acid ซึ่งสามารถฉีดสลายได้ด้วยตัวยา Hyaluronidase เท่านั้น ทั้งนี้ คนไข้ควรแจ้งแพทย์ถึง ชนิด ยี่ห้อ และปริมาณฟิลเลอร์ที่ได้รับการฉีดมา เพื่อที่แพทย์จะได้คำนวณปริมาณตัวยาที่ต้องใช้ในการฉีดสลายได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากที่สุด ดูแลตัวเองอย่างไรดี ไม่ให้ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อน วิธีดูแลตัวเองไม่ให้ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วกลายเป็นก้อน สามารถทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ สรุปเกี่ยวกับฟิลเลอร์ใต้ตาที่กลายเป็นก้อน ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อนสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุปัจจัย เช่น ใช้ปริมาณฟิลเลอร์มากเกินไป ฉีดฟิลเลอร์ปลอม ฉีดฟิลเลอร์ไม่ถูกตำแหน่ง หรือแพทย์ผู้ทำหัตถการไม่มีประสบการณ์มากพอ โดยอาการใต้ตาเป็นก้อนสามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ ด้วยการเลือกทำหัตถการกับแพทย์ผู้มีประสบการณ์ในการฉีดฟิลเลอร์มามากมาย เนื่องจากแพทย์ที่เคยทำหัตถการมามาก จะสามารถเลือกใช้ปริมาณฟิลเลอร์และเลือกตำแหน่งชั้นผิวที่ฉีดได้อย่างเหมาะสม เลือกฉีดฟิลเลอร์ได้มาตรฐาน เพื่อหลีกเลี่ยงอาการเป็นก้อนใต้ตา หากไม่รู้ว่าควรฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาที่ไหนดี ขอแนะนำ Infiniz Clinic ด้วยทีมแพทย์มากประสบการณ์และแพทย์เฉพาะทาง แก้ไขปัญหาใต้ตาของแต่ละคนด้วยการฉีดฟิลเลอร์เทคนิคพิเศษเฉพาะของ Infiniz Clinic เท่านั้น นำทีมแพทย์โดยคุณหมออู๋ นพ.ณัฐพล ลาภเจริญกิจ แพทย์วิทยากรผู้สอนและอาจารย์พิเศษรับเชิญทางด้านเวชศาสตร์ความงามทางด้านการฉีดฟิลเลอร์ และสารกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนมามากกว่า 15 ปี การันตีด้วยรางวัลปรับรูปหน้าโดยไม่ศัลยกรรมและรางวัลอื่น ๆ อีกมากมายตั้งแต่ปี 2018-2023 สอบถามข้อมูลราคาฟิลเลอร์ใต้ตาได้ที่ช่องทางด้านล่าง References Christiano, D. (2019, July 12). Side Effects of Facial Fillers. Healthline. https://www.healthline.com/health/facial-fillers-side-effects Jung, H. (2020). Hyaluronidase: An overview of its properties, applications, and side effects. Archives of plastic surgery, 47(4): 297–300.https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7398804/
Anatomy บริเวณใต้ตา (Tear Trough Anatomy)
ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาอย่างไรให้ปลอดภัยไร้ผลข้างเคียงและได้ผลลัพธ์ที่สวยงามลงตัวอย่างเป็นธรรมชาติ สำหรับการฉีดฟิลเลอร์บริเวณใต้ตานั้นถือว่าเป็นบริเวณที่มีความซับซ้อนค่อนข้างมาก เนื่องจากว่า มีโครงสร้าง ผิวหนังไขมัน กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ที่วางตัวซ้อนทับกัน และ พาดเกี่ยวกัน ด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่สำคัญปริมาณมากรวมทั้งพื้นที่บริเวณใต้ตาและแก้ม จะมีการเคลื่อนไหวอย่างมากนำมาซึ่งพยาธิสภาพที่ผิดปกติเมื่อ อายุที่มากขึ้น ทั้งความหย่อน และโครงสร้างที่บางหรือพร่องลงไป นอกจากนี้ บริเวณใต้ตา และแก้ม ยังมีเส้นเลือดเส้นประสาทสำคัญปริมาณมาก และมีความสำคัญที่เชื่อมต่อเข้าสู่ดวงตาได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นแพทย์จึงจำเป็นต้องรู้ตำแหน่งของเส้นเลือดเหล่านี้อย่างดี เพื่อหลีกเลี่ยงการฉีดฟิลเลอร์ไปในบริเวณดังกล่าว หรือ ป้องกันไม่ให้เกิดผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์นั่นเอง พื้นทีบริเวณใต้ตา ประกอบด้วย Jigsaw ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกัน และ วางทับกันอยู่เป็นปริมาณมาก และ มีขนาดหรือการเรียงตัวที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคลการเข้าใจถึงพยาธิสภาพปัญหาที่ถูกต้องสำหรับปัญหาใต้ตาจึงต้องได้รับการฝึกฝน และ ต้องอาศัยประสบการณ์ของแพทย์อย่างมากโดยการแก้ไขปัญหาในพื้นที่เล็กๆนี้ ยังต้องอาศัยความแม่นยำในการฉีดฟิลเลอร์ในบริเวณนั้นๆอีกเช่นกันดังนั้นสิ่งสำคัญที่แพทย์ทุกคนควรต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างสูง นั่นคือโครงสร้างกายวิภาคศาสตร์บริเวณใต้ตา อย่างละเอียด เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปใช้ในการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาได้อย่างปลอดภัยและได้ผลลัพธ์ที่สวยงามไร้ผลข้างเคียง ปัญหาที่พบบ่อยคือ ฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อน หลังฉีด ซึ่งอาจพบได้หลังจากฉีดไปแล้ว 3-6 เดือน หรือในบางราย อาจยาวนานถึง 1 ปี จึงค่อยเกิดปัญหานี้ขึ้น ซึ่งสาเหตุหลักคือการฉีดฟิลเลอร์เข้าไปแทรกตัวอยู่ในชั้นกล้ามเนื้อนั่นเอง โดยมักเกิดขึ้นจากการที่กล้ามเนื้อบริเวณใต้ตามีการเคลื่อนไหวค่อนข้างมาก จึงง่ายต่อการเกิดภาวะดังกล่าว ซึ่งวิธีแก้คือ การฉีดสลายฟิลเลอร์ส่วนเกินนั้นออกและ ทำการแก้ไขใหม่ตามความเหมาะสม อีกปัญหาหนึ่งคือการฉีดฟิลเลอร์บริเวณใต้ตาในชั้นตื้นเกินไปและปริมาณมากเกินไป จึงเกิดเป็นก้อนสีเทาๆ จากแสงที่ตะกกระทบลงบนผิว ทำให้เกิดความไม่เรียบเนียนและไม่สวยงาม ขั้นตอนนี้ เกิดขึ้นจากเทคนิคการฉีดที่ไม่ถูกต้อง หรือการใช้ชนิดของฟิลเลอร์ที่ไม่เหมาะสมกับสภาพปัญหา จึงเกิดภาวะไม่กลืนตัวเข้ากับผิวบริเวณดังกล่าว โดยแพทย์ผู้ฉีดต้องมีความระมัดระวังอย่างสูงนั่นเอง โดยการแก้ไข ก็จำเป็นต้องฉีดยาสลายฟิลเลอร์ส่วนนั้นออก และ ประเมินสภาพปัญหาใหม่ การเลือกชนิดของ HA Fillerก็เป็นอีกส่วนที่สำคัญที่จะนำมาซึ่งผลการรักษาที่ดูเป็นธรรมชาติ กลมกลืนกับโครงสร้างหรือผิวพรรณของผู้รับบริการได้อย่างดีเยี่ยม โดยฟิลเลอร์ที่นิยมฉีดแก้ไขบริเวณใต้ตา สำหรับคนไทย คือ Restylane Vital Light หรือ Restylane Classic และ Juvederm Volbella or Juvederm Volite นั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ในผู้รับบริการบางคน ที่มีร่องใต้ตาลึกมาก ก็สามารถใช้ Filler ชนิดที่มีโมเลกุลใหญ่ขึ้น นำมาแก้ปัญหาได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ การฉีดฟิลเลอร์บริเวณใต้ตาด้วยโปรแกรม Daisy Eyes โดยคุณหมออู๋ ณัฐพล ยังถูกออกแบบมาให้สามารถใช้เทคนิคในการยกกระชับ และ แก้ไขถุงใต้ตา ได้อีกด้วย โดยจากการดูโครงสร้างบริเวณใต้ตาจะเห็นได้ว่า เมื่ออายุที่มากขึ้น ย่อมทำให้กระดูกเบ้าตา และ ชั้นไขมันใต้ตา บางลง เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อก็มีความหย่อนไม่กระชับอีกด้วย ทั้งหมดนี้ทำให้ไม่สามารถค้ำจุนถุงใต้ตาที่โป่งพองออกมาจากอายุที่มากขึ้นได้ ดังนั้น การแก้ไขด้วยการวางฟิลเลอร์ที่มีขนาดโมเลกุลพอดี และแม่นยำ จึงช่วยให้มีโครงสร้างที่ support ถุงใต้ตาได้อย่างดีทำให้ขนาดลดลง ดังนั้นด้วยวิธีการฉีดฟิลเลอร์ ใต้ตาอย่างถูกวิธี จึงสามารถแก้ไขปัญหาถุงใต้ตาโดยไม่ต้องผ่าตัดศัลยกรรมได้อีกด้วย **อย่างไรก็ตามปัญหาถุงใต้ตา มีความซับซ้อน และมีหลากหลายรูปแบบแนะนำพบแพทย์เพื่อประเมินปัญหาก่อนได้รับการรักษาเท่านั้น เพื่อวางแผนการแก้ไขได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากปัญหาถุงใต้ตาของผู้รับบริการแต่ละคนแตกต่างกัน
Under Eye Rejuvenation : การแก้ไขปัญหาร่องใต้ตา - Infiniz Clinic
ปัญหาร่องใต้ตา เป็นปัญหาที่เจอได้บ่อยกับทุกเพศ ทุกวัย และทุกเชื้อชาติ ปัญหาดังกล่าวได้แก่ ร่องลึก รอยหมองคล้ำใต้ตา ทำให้ดูเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ซึ่งส่วนมากได้รับการแก้ไขที่ไม่ตรงจุด หรือแก้ไขแบบผิดวิธี ทำให้ได้ผลลัพธ์ไม่เป็นที่น่าพอใจ