สำหรับใครที่ฉีดฟิลเลอร์เพื่อปรับรูปหน้าไปแล้ว แต่ผลลัพธ์ออกมาไม่ตรงตามใจ ก็สามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ได้โดยไม่ต้องกังวล แต่ต้องเป็นฟิลเลอร์แท้เท่านั้น ถึงจะสามารถฉีดยาสลายฟิลเลอร์ได้ ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับการฉีดสลายฟิลเลอร์ให้มากขึ้น ใครที่กำลังต้องการแก้ไขฟิลเลอร์บนใบหน้า ห้ามพลาดเลย
ฉีดสลายฟิลเลอร์คืออะไร
การฉีดสลายฟิลเลอร์ คือ การฉีดเอนไซม์ Hyaluronidase เข้าไปสลายฟิลเลอร์ที่มีส่วนประกอบของ Hyaluronic Acid ที่อยู่ใต้ชั้นผิวหนัง โดยเอนไซม์ชนิดนี้จะเข้าไปคลายโครงสร้างโมเลกุลที่จับตัวกันของฟิลเลอร์ ทำให้ฟิลเลอร์ค่อย ๆ สลายตัว และถูกขับออกจากร่างกายไปในที่สุด ซึ่งผิวหนังบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์เข้าไป ก็จะกลับสู่สภาพเดิม หรือใกล้เคียงเดิม เช่น หากมีการฉีดฟิลเลอร์ปากให้ดูอวบอิ่มขึ้น เมื่อฟิลเลอร์สลายตัว ปากก็จะกลับไปบางใกล้เคียงกับสภาพเดิม
ทำไมถึงควรฉีดสลายฟิลเลอร์?
โดยทั่วไปแล้ว คนไข้ต้องการที่จะฉีดฟิลเลอร์ก็เพื่อแก้ไขจุดที่ไม่มั่นใจบนใบหน้า ซึ่งในบางกรณีหลังจากที่ได้รับการฉีดฟิลเลอร์ไปแล้ว คนไข้อาจรู้สึกไม่พอใจในผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เช่น ฟิลเลอร์เป็นก้อน ไม่เรียบเนียน จึงต้องการฉีดสลายฟิลเลอร์เพื่อแก้ไขให้กลับไปเป็นแบบเดิม หรืออาจต้องการฉีดสลายฟิลเลอร์เนื่องจากมีการฉีดผิดตำแหน่ง หรือการฉีดผิดชั้นผิว ฉีดปริมาณมากเกินไปจนดูไม่เป็นธรรมชาติ หรือมีอาการแพ้ฟิลเลอร์ เป็นต้น
การฉีดสลายฟิลเลอร์อันตรายหรือไม่?
การฉีดสลายฟิลเลอร์ด้วยเอนไซม์ Hyaluronidase มักไม่เป็นอันตราย เนื่องจากสามารถขับออกจากร่างกายได้หมดพร้อมกับฟิลเลอร์ โดยไม่มีสารตกค้าง ยกเว้นในกรณีที่คนไข้มีอาการแพ้เอนไซม์ชนิดนี้ ซึ่งแพทย์จะทำการทดสอบที่บริเวณผิวหนังก่อนฉีดเข้าร่างกายเสมอ หากคนไข้มีประวัติในการแพ้เหล็กในของผึ้ง หรือแพ้คอลลาเจนจากวัว ก็อาจแพ้สารสลายฟิลเลอร์ชนิดนี้ได้ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้การฉีดสลายฟิลเลอร์จะปลอดภัยก็ต่อเมื่อฉีดกับแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น เนื่องจากเอนไซม์ไฮยาลูรอนิเดสนั้นสามารถสลายกรดไฮยาลูรอนิกธรรมชาติได้เช่นกัน หากฉีดผิดตำแหน่ง ฉีดในปริมาณไม่เหมาะสม อาจทำให้กรดไฮยาลูรอนิกตามธรรมชาติเสียสภาพไปได้เช่นกัน
ฉีดสลายฟิลเลอร์บริเวณไหนได้บ้าง?
สามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ได้ทุกบริเวณที่คนไข้ต้องการแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็นบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา, ฟิลเลอร์ร่องแก้ม, ฟิลเลอร์ขมับ หรือฟิลเลอร์บริเวณอื่น ๆ ซึ่งหากคนไข้ฉีดฟิลเลอร์ไปแล้วรู้สึกไม่มั่นใจ เช่น รู้สึกเติมคางยาวเกินไป หรือฉีดแล้วเป็นก้อนใต้ตา ก็สามารถฉีดสลายฟิลเลอร์คาง และฉีดสลายฟิลเลอร์ใต้ตาได้
ฉีดสลายฟิลเลอร์กี่ครั้งถึงจะเห็นผล?
ฉีดสลายฟิลเลอร์ สามารถเห็นผลได้ตั้งแต่ครั้งแรกภายใน 24-48 ชั่วโมง โดยหลังฉีดยาสลาย ฟิลเลอร์จะสลายตัวและผิวกลับคืนสู่รูปร่างเดิมตามปกติ แต่ถ้าหากบริเวณที่ฉีดสลายไป ฟิลเลอร์ยังคงเหลืออยู่ ยังสลายตัวได้ไม่หมด แพทย์อาจพิจารณาเพื่อฉีดยาสลายฟิลเลอร์ซ้ำอีกครั้ง ซึ่งการฉีดสลายฟิลเลอร์ สามารถฉีดซ้ำได้จนกว่าฟิลเลอร์จะสลายหมด ทั้งนี้ ฟิลเลอร์บางยี่ห้ออาจต้องฉีดสลายซ้ำหลายครั้ง เนื่องจากมีความหนืดของเนื้อฟิลเลอร์มากกว่ายี่ห้ออื่น ๆ
ฉีดสลายฟิลเลอร์ ราคาเท่าไหร่?
ฉีดสลายฟิลเลอร์ ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 3,000-5,000 บาท/ dose สามารถปรับราคาขึ้นลงได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณยาที่ใช้ฉีดสลายฟิลเลอร์ เช่น ถ้าหากต้องการจะฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผาก ซึ่งเป็นบริเวณที่ใช้ฟิลเลอร์ค่อนข้างมาก ก็อาจมีราคาสูงขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของบริเวณที่ต้องการจะฉีดสลาย และดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำหัตถการอีกด้วย
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ หลังฉีดสลายฟิลเลอร์
หลังฉีดสลายฟิลเลอร์ อาจเกิดผลข้างเคียงบางอย่างได้ เช่น อาการบวม แดง คัน ในบริเวณที่ฉีด ซึ่งสามารถหายได้เองในเวลาไม่นาน หรือสามารถใช้ยาแก้แพ้ และประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ โดยไม่มีผลข้างเคียงอันตรายร้ายแรง ยกเว้นผู้ที่มีประวัติในการแพ้เหล็กในของผึ้ง หรือแพ้คอลลาเจนจากวัว จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาสลายฟิลเลอร์อย่าง Hyaluronidase และใช้วิธีการอื่นในการสลายฟิลเลอร์แทน เพราะอาจเกิดอาการแพ้รุนแรงตามมาได้
ฉีดสลายฟิลเลอร์ไม่ได้ผล ทำอย่างไรดี?
การฉีดสลายฟิลเลอร์จะไม่ได้ผล หากคนไข้ได้รับการฉีดฟิลเลอร์ปลอมมา เพราะยาสลายฟิลเลอร์อย่าง Hyaluronidase จะไม่สามารถสลายสารเติมเต็มอื่น ๆ ได้ นอกจากฟิลเลอร์แท้ที่ผลิตมาจาก Hyaluronic Acid เท่านั้น ทั้งนี้ หากคนไข้ได้รับการฉีดฟิลเลอร์ปลอม และต้องการที่จะนำฟิลเลอร์ออกจากร่างกาย แต่เนื่องจากไม่สามารถฉีดสลายได้ จะสามารถนำฟิลเลอร์ปลอมออกจากร่างกายได้ด้วยวิธีต่อไปนี้
- ขูดฟิลเลอร์ จะสามารถขูดฟิลเลอร์ออกจากร่างกายได้เพียง 60-70% เท่านั้น ไม่สามารถสลายได้หมด เนื่องจากเนื้อฟิลเลอร์บางส่วนได้ผสานกับเนื้อเยื่อร่างกายจนกลายเป็นพังผืดไปแล้วจนไม่สามารถขูดออกมาได้
- ผ่าตัดเอาฟิลเลอร์ออก เหมาะกับคนไข้ที่มีฟิลเลอร์ปลอมขนาดใหญ่ และไม่สามารถใช้วิธีการขูดได้ เนื่องจากเป็นพังผืดมากเกินไป ซึ่งการผ่าตัดก็ไม่สามารถเอาฟิลเลอร์ออกจากร่างกายได้หมดเช่นเดียวกับวิธีขูดฟิลเลอร์
ฉีดสลายฟิลเลอร์แล้ว กลับไปฉีดฟิลเลอร์ซ้ำอีกได้ไหม?
ถ้าฉีดสลายฟิลเลอร์แล้ว สามารถกลับไปฉีดฟิลเลอร์ซ้ำอีกได้ ไม่ว่าจะเป็นฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์แก้มตอบ ฟิลเลอร์ใต้ตา หรือฟิลเลอร์บริเวณอื่น ๆ แต่ว่าควรรอให้ผ่านไปประมาณ 7-14 วันหลังจากที่ฉีดสลายฟิลเลอร์ก่อน ถึงจะสามารถฉีดฟิลเลอร์เติมเข้าไปได้อีกครั้ง เนื่องจากต้องรอให้เนื้อเยื่อบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ไปได้รับการฟื้นฟู และที่สำคัญ ตัวยาสลายฟิลเลอร์อาจยังตกค้างอยู่ ซึ่งอาจทำให้ฟิลเลอร์ที่ฉีดเติมเข้าไปใหม่ สลายตัวตามไปด้วย
การเตรียมตัวก่อนไปฉีดสลายฟิลเลอร์
ก่อนจะตัดสินใจไปฉีดสลายฟิลเลอร์ ควรเตรียมข้อมูลเหล่านี้ไว้ให้พร้อม เพื่อที่แพทย์จะได้ประเมินการทำหัตถการให้ได้อย่างเหมาะสม
1. ปริมาณฟิลเลอร์ที่เราฉีดก่อนฉีดสลายฟิลเลอร์
คนไข้ควรทราบปริมาณฟิลเลอร์ที่ฉีดไปตั้งแต่แรก เพื่อที่แพทย์จะได้ประเมินปริมาณยาที่ต้องใช้ในการฉีดสลายฟิลเลอร์ได้อย่างเหมาะสม เพราะหากมีการฉีดฟิลเลอร์มาในปริมาณมาก ก็ต้องใช้ยาสลายฟิลเลอร์ในปริมาณที่มากขึ้นตามไปด้วย
2. ยี่ห้อของฟิลเลอร์ที่เราฉีด
ควรทราบยี่ห้อของฟิลเลอร์ที่ใช้ก่อนฉีดสลาย เนื่องจากฟิลเลอร์บางรุ่นบางยี่ห้อจะมีความหนืดมากกว่าปกติ เช่น ยี่ห้อ Juvederm รุ่น Voluma หรือ ยี่ห้อ Restylane รุ่น Perlane Lyft ที่มีความหนืดมาก อาจต้องใช้ปริมาณยาในการฉีดสลายฟิลเลอร์มากกว่าปริมาณทั่วไป และอาจต้องมาซ้ำได้ในบางกรณี หากคนไข้สามารถจดจำชื่อและรุ่นฟิลเลอร์ หรือ นำกล่องฟิลเลอร์ที่เคยฉีดมาด้วยได้ แพทย์ก็จะสามารถประเมินได้อย่างแม่นยำ และเหมาะสมกับคนไข้ได้มากยิ่งขึ้น
3. ประเภทของฟิลเลอร์ที่เราฉีด
คนไข้ควรทราบว่าฟิลเลอร์ที่ฉีดเข้าไปเป็นฟิลเลอร์ประเภทไหนจากใน 3 ประเภทนี้
- ฟิลเลอร์แบบชั่วคราว (Temporary filler)
- ฟิลเลอร์กึ่งถาวร (Semi Permanent filler)
- ฟิลเลอร์ถาวร (Permanent filler)
ซึ่งฟิลเลอร์ประเภทที่สามารถฉีดสลายได้ จะเป็นฟิลเลอร์แบบชั่วคราวที่ผลิตมาจาก Hyaluronic Acid เท่านั้น ถึงจะสามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ได้ด้วยยา Hyaluronidase หากเป็นฟิลเลอร์ประเภทกึ่งถาวร และฟิลเลอร์ถาวร จะไม่สามารถฉีดสลายด้วยยาชนิดนี้ได้ ต้องทำการขูดฟิลเลอร์ หรือผ่าตัดออกเท่านั้น
4. ควรแจ้งแพทย์ทุกครั้งหากมีประวัติหรืออาการแพ้เหล็กในผึ้ง
ควรแจ้งแพทย์ทุกครั้งหากมีประวัติในการแพ้เหล็กในของผึ้ง หรือแพ้คอลลาเจนจากวัว เพราะคนไข้อาจแพ้เอนไซม์ Hyaluronidase ที่เป็นยาสำหรับฉีดสลายฟิลเลอร์ได้เช่นกัน หากคนไข้มีประวัติการแพ้ดังกล่าว แนะนำให้หลีกเลี่ยงการฉีดสลายฟิลเลอร์ด้วยยาสลายฟิลเลอร์ และใช้วิธีการอื่นในการสลายฟิลเลอร์แทน
ฉีดสลายฟิลเลอร์ที่ไหนดี?
ฉีดสลายฟิลเลอร์ที่ไหนดี? ควรฉีดสลายฟิลเลอร์ในคลินิกหรือสถานพยาบาลที่น่าเชื่อถือ ได้มาตรฐาน มีใบอนุญาตประกอบกิจการ กับแพทย์ผู้มีประสบการณ์ ที่สามารถตรวจสอบรายชื่อที่เว็บไซต์แพทยสภาได้ และมีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมอย่างถูกต้อง
การฉีดฟิลเลอร์ และฉีดสลายฟิลเลอร์เป็นหัตถการที่ต้องอาศัยประสบการณ์ รวมไปถึงความชำนาญของแพทย์เป็นอย่างมาก เพื่อที่จะสามารถคำนวณปริมาณยาที่ต้องใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อลดการเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ และได้ผลลัพธ์ที่ออกมาสวยตรงใจคนไข้มากที่สุด
ข้อสรุปเกี่ยวกับฉีดสลายฟิลเลอร์
การฉีดสลายฟิลเลอร์ คือ การฉีดเอนไซม์ Hyaluronidase เข้าไปสลายฟิลเลอร์ที่ผลิตมาจาก Hyaluronic Acid ที่อยู่ใต้ชั้นผิวหนัง โดยเอนไซม์ชนิดนี้จะเข้าไปสลายโมเลกุลที่จับตัวกันของฟิลเลอร์ ทำให้ฟิลเลอร์ที่ยึดติดกันค่อย ๆ สลายตัว และถูกขับออกจากร่างกายไปในที่สุด โดยจะทำการฉีดสลายฟิลเลอร์ในคนไข้ที่มีความไม่พอใจในผลลัพธ์หลังจากฉีดฟิลเลอร์ จึงต้องการที่จะฉีดสลายฟิลเลอร์ เพื่อแก้ไขผิวบริเวณนั้นให้กลับไปสู่สภาพเดิม
ฉีดสลายฟิลเลอร์ได้อย่างปลอดภัย แม่นยำ ทำหัตถการโดยหมอผู้มีประสบการณ์ ต้อง Infiniz Clinic คลินิกหัตถการความงามโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมากประสบการณ์ ปรับรูปหน้าของแต่ละคนด้วยเทคนิคพิเศษเฉพาะของ Infiniz Clinic เท่านั้น เพื่อให้เข้ากับสรีระใบหน้าที่แตกต่างกันไป
Infiniz Clinic นำทีมแพทย์โดยคุณหมออู๋ นพ.ณัฐพล ลาภเจริญกิจ แพทย์วิทยากรผู้สอนและอาจารย์พิเศษรับเชิญทางด้านเวชศาสตร์ความงามทางด้านการฉีดฟิลเลอร์ และสารกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนมากประสบการณ์ Infiniz Clinic การันตีด้วยรางวัลปรับรูปหน้าโดยไม่ศัลยกรรมและรางวัลอื่น ๆ อีกมากมายจากบริษัทผู้จัดจำหน่ายสารลดเลือนริ้วรอย และฟิลเลอร์ชั้นนำของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2018-2023
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ช่องทางนี้
- Facebook : Infiniz Clinic :: Skin & Facial Design Expert
- Line ID: @Infinizclinic
- โทร : 098-828-5444
References
Christiano, D. (2019, July 12). Side Effects of Facial Fillers. Healthline. https://www.healthline.com/health/facial-fillers-side-effects
Jung, H. (2020). Hyaluronidase: An overview of its properties, applications, and side effects. Archives of plastic surgery, 47(4): 297–300.https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7398804/