ฉีดฟิลเลอร์คาง เป็นก้อนอันตรายไหม แก้คางเป็นก้อนได้อย่างไร?

ฉีดฟิลเลอร์คาง เป็นก้อน

หนึ่งในปัญหาที่มีโอกาสพบหลังจากฉีดฟิลเลอร์คาง คือ อาการคางบวมเป็นก้อน ซึ่งสามารถเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น ความไม่ชำนาญการของแพทย์ ใช้ฟิลเลอร์ปลอม แม้ว่าการฉีดฟิลเลอร์คาง เป็นก้อนดูจะไม่ใช่อาการร้ายแรง แต่กลับอันตรายกว่าที่คิด ในบทความนี้เราจะมาแนะนำวิธีสังเกตว่าคางเป็นก้อนจากการฉีดฟิลเลอร์มีลักษณะอย่างไร รวมถึงแนะนำวิธีแก้ไขและป้องกันเวลาฉีดฟิลเลอร์คางไม่ให้เป็นก้อนเพื่อให้คุณมีคางทรงสวยตรงตามความต้องการมากที่สุด



ฉีดฟิลเลอร์คาง เป็นก้อน อาการแบบไหนที่น่ากังวล

ฟิลเลอร์คางเป็นก้อน

อาการฉีดฟิลเลอร์คาง เป็นก้อนสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

  • อาการคางเป็นก้อนแบบไม่ติดเชื้อ

เป็นอาการที่อาจเกิดจากเข็ม โดยอาการบวมเข็มเกิดจากเข็มไปรบกวนเนื้อเยื่อรอบ ๆ บริเวณที่ฉีด โดยส่วนมากแล้วอาการมักจะหายเองในระยะ 7-14 วัน แต่ก็อาจเกิดจากการให้แพทย์ผู้ที่ไม่ชำนาญการเป็นผู้ฉีดฟิลเลอร์ได้ ซึ่งแพทย์อาจจะฉีดฟิลเลอร์ผิดชั้นผิวหรือฉีดฟิลเลอร์ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม ทำให้หลังฉีดฟิลเลอร์คางเป็นก้อน

  • อาการคางเป็นก้อนแบบติดเชื้อ

เป็นอาการที่อาจเกิดจากการแพ้ฟิลเลอร์ การใช้ฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือการฉีดฟิลเลอร์ปลอม ในกรณีหลังฉีดฟิลเลอร์เป็นก้อนแล้วพบอาการติดเชื้อ ควรรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเพราะเป็นอาการที่อันตรายต่อร่างกาย

หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่ทราบว่าฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนมีลักษณะอาการแบบไหนบ้าง ในที่นี้ก็จะมาบอกต่อวิธีเช็กอาการคางเป็นก้อนด้วยตนเอง ได้แก่

  • คางนูน พื้นคางไม่สม่ำเสมอ ผิดรูป ทำให้รูปหน้าไม่สมดุล
  • เวลาสัมผัสหรือกดคางเบา ๆ แล้วรู้สึกเจ็บ บางรายอาจมีไข้ขึ้นร่วมด้วย
  • มีอาการติดเชื้อ โดยรู้สึกปวด บวม นูนแดง และแสบร้อนบริเวณที่ฉีดผิดปกติ
  • เป็นก้อนบวมแดงและมีตุ่มหนองขึ้นร่วมด้วย
  • ผิวเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ

สาเหตุของการฉีดฟิลเลอร์คางเป็นก้อน 

โดยปกติแล้วหลังฉีดฟิลเลอร์คาง ผู้เข้ารับบริการจะได้คางที่เรียวสวย รับกับรูปหน้าอย่างเป็นธรรมชาติ แต่ถ้าหากฉีดฟิลเลอร์คางแล้วเป็นก้อนอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • แพทย์ผู้ฉีดฟิลเลอร์คางไม่มีประสบการณ์ ไม่ชำนาญการฉีดฟิลเลอร์ ทำให้ฉีดฟิลเลอร์คางเป็นก้อนหรือฉีดผิดชั้นผิวได้
  • ปริมาณฟิลเลอร์ที่ฉีดมากเกินไปจนทำให้คางเป็นก้อน
  • เนื้อฟิลเลอร์ที่ฉีดไม่เหมาะสมกับชั้นผิวหนังที่ฉีด
  • เลือกฉีดฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ผ่านอย.ไทย รวมถึงการเลือกยี่ห้อฟิลเลอร์ที่มีส่วนผสมของสารอื่น ๆ เช่น ซิลิโคน พาราฟิน ส่งผลให้ฉีดฟิลเลอร์คาง เป็นก้อนได้

วิธีแก้ไขหากฉีดฟิลเลอร์คางเป็นก้อน

วิธีแก้ไขฉีดฟิลเลอร์คางเป็นก้อนจะขึ้นอยู่กับประเภทของฟิลเลอร์และอาการของคางบวมเป็นก้อน โดยปัญหาฟิลเลอร์คางเป็นก้อนสามารถแก้ไขได้ด้วย 3 วิธีหลัก ดังนี้

  1. การฉีดสลายฟิลเลอร์

การฉีดสลายฟิลเลอร์ คือ การนำสารไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase) ฉีดเข้าสู่บริเวณที่เป็นก้อนเพื่อสลายฟิลเลอร์ออกไป โดยแพทย์จะสอบถามปริมาณ CC ที่ฉีดฟิลเลอร์คางเพื่อคำนวณปริมาณสารที่นำมาฉีดสลายฟิลเลอร์ตามความเหมาะสม แต่การฉีดสลายฟิลเลอร์จะใช้ได้กับสารไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic Acid) เท่านั้น

  1. การขูดฟิลเลอร์

การขูดฟิลเลอร์เป็นวิธีแก้ปัญหาฉีดฟิลเลอร์คาง เป็นก้อนในกรณีที่ฟิลเลอร์ไม่สลายตัวได้เอง มักเกิดจากการฉีดฟิลเลอร์ปลอมที่ใช้ซิลิโคนเป็นส่วนผสม จึงจำเป็นต้องขูดฟิลเลอร์ออกเพื่อไม่ให้เกิดอาการข้างเคียงในภายหลัง อย่างไรก็ตามการขูดฟิลเลอร์สามารถขูดได้เพียง 60-70% และจะต้องให้แพทย์เป็นผู้รักษาเท่านั้น

  1. การผ่าตัด

การผ่าตัดเป็นวิธีรักษาปัญหาฉีดคางแล้วเป็นก้อนกรณีที่ไม่สามารถขูดฟิลเลอร์ออกไปได้ เนื่องจากก้อนฟิลเลอร์มีขนาดใหญ่ เนื้อแข็ง หรือปล่อยไว้นานจนฟิลเลอร์จับตัวเป็นพังผืด อย่างไรก็ตามการผ่าตัดก็ยังไม่สามารถนำก้อนฟิลเลอร์ทั้งหมดออกไปได้ และจำเป็นต้องให้แพทย์เฉพาะทางเป็นผู้ผ่าตัดให้เพื่อความปลอดภัย ลดความเสี่ยงการเกิดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ เพิ่มเติม


วิธีเลือกคลินิกฉีดฟิลเลอร์คางให้ปลอดภัย ไม่เป็นก้อน

ฉีดฟิลเลอร์เป็นก้อน

สำหรับผู้ที่กำลังมองสถานพยาบาลหรือคลินิกฉีดฟิลเลอร์คางที่ปลอดภัย มีทีมแพทย์ที่ชำนาญการ แต่ยังลังเลอยู่ว่าควรรักษาที่ไหนดี ทางเรามีวิธีเลือกคลินิกฉีดฟิลเลอร์คางให้ปลอดภัย ไม่เป็นก้อน ไม่เสียเวลาและไม่เสียเงินแก้ซ้ำอีกครั้ง ดังนี้

  • คลินิกฉีดฟิลเลอร์จะต้องได้รับมาตรฐาน มีเลขอนุญาตประกอบกิจการคลินิกถูกต้อง
  • คลินิกมีแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์ฉีดฟิลเลอร์ และแพทย์จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ สามารถตรวจสอบได้
  • คลินิกมีค่าบริการฉีดฟิลเลอร์คาง ราคาเหมาะสม ไม่ถูกมากจนเกินไป เพราะมีโอกาสเสี่ยงฉีดฟิลเลอร์คาง เป็นก้อนได้ เนื่องจากฉีดฟิลเลอร์ปลอมหรือฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน
  • คลินิกสะอาด มีอุปกรณ์เครื่องมือที่ครบครัน ผ่านการฆ่าเชื้อหลังใช้งานทุกครั้ง และผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยก่อนใช้งานจริง 
  • คลินิกมีเจ้าหน้าที่หรือผู้ชำนาญการพร้อมให้รายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการได้ถูกต้อง

เคล็ดลับการดูแลตนเองหลังฉีดฟิลเลอร์คางไม่ให้เป็นก้อน

หลังจากฉีดฟิลเลอร์คางแล้วควรดูแลตนเองให้ดีเพื่อไม่ให้เนื้อฟิลเลอร์เป็นก้อนหรือสลายตัวเร็ว ดังนี้

  • งดบีบ คลำ นวด ถูบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์เพื่อไม่ให้ฟิลเลอร์ไหลไปตำแหน่งอื่นหรือเกิดอาการปวดบวม
  • หลีกเลี่ยงการเท้าคาง การนอนคว่ำ หรือการสวมใส่หมวกกันน็อคที่มีสายรัดแน่น เพราะอาจทำให้เกิดการกดทับบริเวณที่ฉีดได้
  • งดแต่งหน้าหรือทาครีมบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์คาง 24ชั่วโมง เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ 
  • ดื่มน้ำเปล่าเป็นประจำ เพื่อให้ฟิลเลอร์อุ้มน้ำได้ดี ฟูได้รูป
  • หลีกเลี่ยงการออกแดดเป็นเวลานานหรือทำกิจกรรมที่สัมผัสความร้อน เช่น การเข้าซาวน่า การทานอาหารหน้าเตา เพราะจะทำให้ฟิลเลอร์สลายตัวเร็วขึ้น 
  • หากมีอาการผิดปกติหลังฉีดฟิลเลอร์คาง เช่น คางเป็นก้อน ปวดแสบผิดปกติ หรือมีหนอง ให้รีบพบแพทย์ทันที

สรุป ฉีดฟิลเลอร์คางอย่างไรไม่ให้เป็นก้อน 

การฉีดฟิลเลอร์คางเป็นหัตถการที่จำเป็นต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์การฉีดจากแพทย์ผู้ทำหัตถการที่มีความรู้เฉพาะทาง และสามารถประเมินแนวทางการรักษาให้เหมาะสมกับผู้เข้ารับการรักษาแต่ละรายได้เป็นอย่างดี โดยเลือกฉีดฟิลเลอร์ที่ผ่านมาตรฐานอย. ไทย เพื่อให้หลังฉีดฟิลเลอร์คางไม่เป็นก้อนจนต้องกลับมารักษาอาการคางเป็นก้อนจากการฉีดฟิลเลอร์อีก

สำหรับใครที่ยังไม่แน่ใจว่าจะฉีดฟิลเลอร์คาง ยี่ห้อไหนดี? ที่ Infiniz Clinic คลินิกเสริมความงามมีบริการฉีดฟิลเลอร์เพื่อปรับรูปหน้าให้สวยอย่างเป็นธรรมชาติด้วยฟิลเลอร์ยี่ห้อที่ผ่านมาตรฐานอย. โดยมีหมออู๋ ณัฐพล ลาภเจริญกิจ แพทย์ผู้อำนวยการสถาบันความงามอินฟินิซ คลินิก และผู้ทำหัตถการโปรแกรมฉีดฟิลเลอร์มานานกว่า 15 พร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำยี่ห้อฟิลเลอร์ โดยสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามช่องทางดังนี้

  • Facebook : Infiniz Clinic : Skin & Facial Design Expert 
  • Line ID: @Infinizclinic
  • โทร : 098-828-5444

References

Saputra, DI. Kapoor, KM. (2022). Management of noninflammatory nodule in chin after a large volume bolus injection of hyaluronic acid filler. National Library of Medicine, 33(3):e13424. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32307855/

Murray, RL. Gondal, AZ. (2024). Hyaluronidase. StartPearls. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK545163/


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ และปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้ คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก