Scroll to top

ฟิลเลอร์ปลอมอันตราย ควรตรวจสอบให้ดีก่อนฉีดฟิลเลอร์

ฟิลเลอร์ปลอม

ในปัจจุบันนี้ มีผู้คนจำนวนมากมายที่ต้องการจะฉีดสารเติมเต็มอย่างฟิลเลอร์ เพื่อเพิ่มความสวยงาม และความมั่นใจให้กับใบหน้า ไม่ว่าจะเป็นบริเวณขมับ, หน้าผาก, ปาก, คาง, ร่องแก้ม หรือใต้ตา ก็สามารถฉีดฟิลเลอร์เพื่อแก้ไขปัญหา หรือปรับรูปหน้าได้ทั้งสิ้น 

แต่เพราะฟิลเลอร์มีราคาที่ค่อนข้างสูง ทำให้มีฟิลเลอร์ปลอมราคาต่ำระบาด และถูกวางขายตามท้องตลาดเพื่อดึงดูดผู้ที่ต้องการฉีดฟิลเลอร์ราคาถูกให้ซื้อไปใช้ โดยที่ไม่ทราบถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น มารู้เท่าทันฟิลเลอร์ปลอม และวิธีดูฟิลเลอร์แท้ไปกับบทความนี้กันได้เลย 

ฟิลเลอร์ปลอมคืออะไร?

ฟิลเลอร์ปลอม คือ ฟิลเลอร์ที่ฉีดเข้าไปในร่างกาย แล้วมีการตกค้างเป็นก้อนอยู่ในชั้นผิว ไม่สลายหายไปเองตามธรรมชาติ จนทำให้เกิดอาการอักเสบ บวมแดง เกิดพังผืด และอาจติดเชื้อตามมาได้ ซึ่งฟิลเลอร์ปลอมมักผลิตมาจากซิลิโคนเหลว หรือพาราฟิน ต่างจากฟิลเลอร์แท้ที่ผลิตมาจาก Hyaluronic Acid ซึ่งเป็นสารที่มีโครงสร้างเหมือนกับไฮยาลูรอนที่มีอยู่ในร่างกาย จึงสามารถสลายสารนี้ได้เองตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องทำการขูดออกเหมือนฟิลเลอร์เถื่อน

ฉีดฟิลเลอร์ปลอมแล้วอันตรายอย่างไร?

การฉีดฟิลเลอร์ปลอมเป็นอันตรายต่อร่างกาย เนื่องจากจะเกิดการตกค้าง และไม่สามารถสลายไปได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ดังนี้

  • ฟิลเลอร์ปลอมจะไหลเป็นก้อนแข็ง บวม และห้อยย้อย ไม่เป็นรูปทรงคงเดิมตามที่ฉีดไว้อีกต่อไป เมื่อเวลาผ่านไป 3-5 ปี ยกตัวอย่างเช่น หากฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม ก็อาจทำให้แก้มห้อยลงมาอย่างผิดปกติได้
  • ฟิลเลอร์ปลอมทำให้ผิวหนังบริเวณที่ฉีดบิดเบี้ยวผิดรูปไป
  • ฟิลเลอร์ปลอมทำให้เกิดอาการบวมแดง อักเสบ และติดเชื้อ มีอาการแพ้ฟิลเลอร์ จนอาจทำให้เกิดเนื้อตาย และพังผืดได้ในเวลาต่อมา 

ทั้งนี้ ฟิลเลอร์ปลอมไม่สามารถฉีดยาสลายอย่าง Hyaluronidase หรือสลายได้เองตามธรรมชาติเหมือนฟิลเลอร์แท้ ต้องใช้วิธีผ่าตัด หรือขูดออกจากร่างกายเท่านั้น 

ข้อแตกต่างระหว่างฟิลเลอร์แท้ VS. ฟิลเลอร์ปลอม

ฟิลเลอร์แท้ vs ฟิลเลอร์ปลอม

ฟิลเลอร์ปลอม และฟิลเลอร์แท้ มีความแตกต่างกันในชนิดของสารเติมเต็มที่ถูกนำมาใช้ โดยฟิลเลอร์แท้ จะเป็นสารเติมเต็มชนิด Hyaluronic Acid ซึ่งเป็นสารที่มีโครงสร้างเหมือนกับสารในร่างกาย จึงสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ มีความปลอดภัยสูง ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาไทย (อย.) โดยฟิลเลอร์แท้จะอยู่ได้นาน 6-24 เดือน และสามารถเติมใหม่ได้เรื่อย ๆ หากฟิลเลอร์มีการสลายตัวหมดไปแล้ว บริเวณที่สามารถฉีดฟิลเลอร์ได้ เช่น ฟิลเลอร์ใต้ตาฟิลเลอร์ปาก หรือฟิลเลอร์หน้าผาก เป็นต้น

ส่วนฟิลเลอร์ปลอม จะเป็นสารสังเคราะห์อื่น ๆ เช่น ซิลิโคนเหลว พาราฟิน และสาร PMMA (Polymethyl-methacrylate microspheres) ที่ไม่ผ่านอย.ไทย และฟิลเลอร์ไม่สลายหายไปได้เอง จะคงอยู่ในร่างกายถาวร จนกว่าจะผ่าตัดขูดออกมาเท่านั้น ซึ่งถ้าใช้ฟิลเลอร์เถื่อนเหล่านี้ฉีดเข้าสู่ร่างกาย อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ตามมาได้ในระยะยาว ดังนั้น จึงควรตรวจสอบฟิลเลอร์ให้ดีก่อนฉีดเข้าสู่ร่างกาย

ข้อสังเกตและวิธีดูฟิลเลอร์แท้

ในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ฟิลเลอร์ปลอมมีการทำเลียนแบบจนเหมือนของแท้เป็นอย่างมาก จนบางครั้งก็สามารถแยกได้ยากว่า เป็นของแท้หรือของปลอม ดังนั้น เราจึงต้องมีวิธีสังเกตฟิลเลอร์ปลอม เพื่อที่จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวง โดยจุดสังเกตของฟิลเลอร์แท้ และฟิลเลอร์ปลอมมีดังนี้

เปรียบเทียบราคาฟิลเลอร์ตามท้องตลาด

โดยส่วนมาก ฟิลเลอร์ปลอมจะมีราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป ดังนั้น ถ้าหากเจอการขายฟิลเลอร์ในราคาที่ถูกมากเกินไป ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อน ว่าฟิลเลอร์นั้นอาจเป็นของปลอม ทั้งนี้ ราคาของฟิลเลอร์แท้ จะอยู่ที่ประมาณ 15,000-25,000 บาทต่อการฉีดหนึ่งบริเวณ ทั้งนี้ราคาที่ฉีดขึ้นอยู้กับประสบการณ์และทักษะการฉีดของแพทย์แต่ละท่านด้วยเช่นกัน 

สังเกตเลข Lot. บนกล่องฟิลเลอร์

ฟิลเลอร์แต่ละกล่อง จะมีเลข Lot. ระบุไว้อยู่บนกล่อง ซึ่งวิธีสังเกตฟิลเลอร์ปลอมอีกข้อหนึ่งง่าย ๆ คือ เลข Lot. ที่อยู่บนกล่อง, บนหลอดฟิลเลอร์, บนสติกเกอร์ และบนซอง (ตำแหน่งเลข Lot. ขึ้นกับแต่ละยี่ห้อฟิลเลอร์) ทุกบริเวณจะต้องมีเลข Lot. ที่ตรงกัน อีกทั้งยังต้องสามารถโทรเช็กเลข Lot. กับบริษัทผู้จัดจำหน่ายได้ หากเลขไม่ตรงกัน หรือโทรเช็กกับผู้จัดจำหน่ายไม่ได้ ให้สงสัยไว้ก่อนว่ากล่องนั้นเป็นฟิลเลอร์ปลอม สำหรับบางยี่ห้อ เช่น ฟิลเลอร์ Restylane หรือฟิลเลอร์ Neuramis จะสามารถสแกน QR Code เพื่อเช็กว่าเป็นฟิลเลอร์แท้ได้อีกด้วย

สังเกตฉลาก บรรจุภัณฑ์ และวิธีการบรรจุฟิลเลอร์ 

ต้องสังเกตฉลาก บรรจุภัณฑ์ และวิธีการบรรจุฟิลเลอร์ให้ดีว่า ตัวยาอยู่ในแพ็กเกจที่ปิดมิดชิด ปราศจากเชื้อ ไม่มีส่วนใดถูกเปิดมาก่อน หรือมีการรั่วไหล ในกล่องต้องมีเข็ม หลอดยาฟิลเลอร์ที่ถูกปิดไว้ด้วยหัวจุก และคู่มือการใช้งาน ต้องไม่ขาดส่วนประกอบชิ้นใดชิ้นหนึ่งไป เพราะโดยส่วนมากฟิลเลอร์ปลอม มักอยู่ในสภาพการบรรจุที่ไม่สมบูรณ์ 

สังเกตเลขอย.ว่าเป็นของแท้หรือของปลอม

ฟิลเลอร์แท้จะต้องมีฉลากภาษาไทย และได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีเลขทะเบียนอย. เอกสารกำกับภาษาไทย และรายละเอียดสินค้า ระบุอยู่ข้างกล่องชัดเจน หากกล่องฟิลเลอร์ใดไม่มีฉลากภาษาไทย อาจเสี่ยงเป็นฟิลเลอร์ปลอมได้

ดูฟิลเลอร์แท้ของแต่ละยี่ห้ออย่างไร?

สำหรับฟิลเลอร์ในแต่ละยี่ห้อ จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของบรรจุภัณฑ์ และวิธีการตรวจสอบ สามารถดูจุดสังเกต เพื่อแยกฟิลเลอร์แท้และฟิลเลอร์ปลอมได้ ดังนี้

ยี่ห้อ Juvederm 

  • ต้องมีเลขทะเบียนอย. และเอกสารกำกับภาษาไทย 
  • ต้องสามารถโทรเช็กเลข Lot. ที่บริษัท Allergan Thailand (DSKH) ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-640-4999 ต่อ 1 
  • เลข Lot. ที่สติกเกอร์, กล่อง, ซอง และหลอด จะต้องตรงกันทั้ง 4 จุด

ยี่ห้อ Restylane

  • ต้องมีเลขทะเบียนอย. และเอกสารกำกับภาษาไทย 
  • ต้องมีสติกเกอร์โมโนแกรมปิดอยู่ที่บริเวณกล่อง และเมื่อลอกออกมาจะเห็นคำว่า “VOID”
  • ต้องสามารถสแกน QR Code บริเวณกล่องผ่านแอปพลิเคชัน eZTracker : Safety in Each Scan ได้ผลลัพธ์เป็นหน้าจอสีเขียว พร้อมข้อความ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้ถูกนำเข้าอย่างถูกกฎหมายโดยบริษัท กัลเดอร์มา (ประเทศไทย) 
  • ต้องสามารถโทรเช็กเลข Lot. ที่ Galderma ประเทศไทยได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-023-1800 ต่อ 402 
  • เลข Lot. ที่สติกเกอร์ กล่อง และหลอด จะต้องตรงกันทั้ง 3 จุด

ยี่ห้อ Belotero

  • ต้องมีเลขทะเบียนอย. และเอกสารกำกับภาษาไทย 
  • ต้องสามารถโทรเช็กเลข Lot. ที่บริษัท Merz Aesthetics ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 092-254-2662 
  • เลข Lot. ที่สติกเกอร์ กล่อง และหลอด จะต้องตรงกันทั้ง 3 จุด

แน่นอนว่าหากไม่รู้ว่าควรจะฉีดฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ควรทำการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้สามารถทำการรักษาได้อย่างตรงจุด

ข้อควรระวังก่อนไปฉีดฟิลเลอร์

ตรวจสอบฟิลเลอร์ปลอมก่อนฉีด
  • ก่อนไปฉีดฟิลเลอร์ ควรเลือกคลินิกที่ได้มาตรฐาน สะอาด ปลอดภัย มีใบอนุญาตในการเปิดสถานพยาบาลอย่างถูกต้อง 
  • เนื่องจากหัตถการการฉีดฟิลเลอร์ ไม่ว่าจะเป็นฟิลเลอร์ขมับฟิลเลอร์คาง, ฟิลเลอร์แก้มตอบ หรือฟิลเลอร์บริเวณอื่น ๆ ต้องใช้ความเชี่ยวชาญการในการฉีดเป็นอย่างมาก จึงควรเลือกฉีดฟิลเลอร์กับแพทย์ผู้มีประสบการณ์ สามารถตรวจสอบรายชื่อแพทย์ที่เว็บไซต์แพทยสภาได้ และมีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมอย่างถูกต้อง 
  • ตรวจสอบฟิลเลอร์ก่อนฉีดทุกครั้งว่า ฟิลเลอร์ที่ใช้เป็นฟิลเลอร์แท้ที่ได้รับการรับรองจากอย.มาอย่างถูกต้อง ไม่ใช่ฟิลเลอร์ปลอม ต้องสามารถเช็กเลข Lot. และฉลาก รวมไปถึงรายละเอียดอื่น ๆ ได้
  • ตรวจสอบรีวิวจากผู้ใช้บริการจริงของคลินิกว่า ผู้ที่เคยมาใช้บริการ มีความคิดเห็นต่อคลินิกเป็นอย่างไรบ้าง ทำหัตถการไปแล้วได้ผลจริงไหม ควรตรวจสอบรีวิวจากแหล่งข้อมูลที่เป็นกลาง และมีความน่าเชื่อถือสูง

สรุปเกี่ยวกับฟิลเลอร์ปลอม

ฟิลเลอร์ปลอม ส่วนใหญ่จะเป็นสารเติมเต็มประเภทซิลิโคนเหลว หรือพาราฟิน ซึ่งจะมีการตกค้างเป็นก้อนอยู่ในชั้นผิว ไม่สลายหายไปเองตามธรรมชาติ จนทำให้ผิวหนังบริเวณที่ฉีดมีการบิดเบี้ยวผิดรูป เกิดอาการอักเสบ บวมแดง ติดเชื้อ จนอาจทำให้เกิดเนื้อตาย และพังผืดได้ในเวลาต่อมา ซึ่งฟิลเลอร์ปลอมจะไม่สามารถฉีดสลายได้เหมือนฟิลเลอร์แท้ วิธีการนำออกจากร่างกายจึงต้องใช้การผ่าตัด หรือขูดออกมาเท่านั้น

ฉีดฟิลเลอร์แท้ได้มาตรฐาน ผ่านการรับรองจากอย. โดยสถานพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงตามความต้องการของคุณมากที่สุด Infiniz Clinic คลินิกหัตถการความงามโดยแพทย์เฉพาะทางและมากประสบการณ์ ปรับรูปหน้าของแต่ละคนด้วยเทคนิคพิเศษเฉพาะของ Infiniz Clinic เท่านั้น นำทีมแพทย์โดยคุณหมออู๋ นพ.ณัฐพล ลาภเจริญกิจ แพทย์วิทยากรผู้สอนและอาจารย์พิเศษรับเชิญทางด้านเวชศาสตร์ความงามทางด้านการฉีดฟิลเลอร์ และสารกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนมากประสบการณ์ การันตีด้วยรางวัลปรับรูปหน้าโดยไม่ศัลยกรรมและรางวัลอื่น ๆ อีกมากมายตั้งแต่ปี 2018-2023

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ช่องทางนี้ 

  • Facebook : Infiniz Clinic :: Skin & Facial Design Expert 
  • Line ID: @Infinizclinic
  • โทร : 098-828-5444

References

Liu, K. (2020, January 7). Dermal fillers: The good, the bad and the dangerous. Harvard Health Publishing. https://www.health.harvard.edu/blog/dermal-fillers-the-good-the-bad-and-the-dangerous-201907152561

Christiano, D. (2019, July 12). Side Effects of Facial Fillers. Healthline. https://www.healthline.com/health/facial-fillers-side-effects

Fake injectable dermal fillers: A dangerous trend in the beauty industry. (2021, May 19). CosmeticBusiness. https://www.cosmeticsbusiness.com/fake-injectable-dermal-fillers-a-dangerous-trend-in-the-beauty-industry–176703

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ และปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้ คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก