การรักษาความชุ่มชื้นของผิว จะทำให้ผิวมีความเรียบเนียนนุ่มนวลน่าสัมผัส ไม่แห้งกร้าน หรือลอกเป็นขุย นับว่าเป็นการคุ้มครองดุลยภาพ (Homeostasis) ของผิวที่มีสุขภาพดีไว้ ในสภาวะปกติผิวหนังชั้นนอกสุดหรือชั้นขี้ไคล จะช่วยกักเก็บน้ำภายในเซลล์ไม่ให้สูญเสียไปเพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้กับผิว หากผิวขาดความชุ่มชื้นหรือดุลยภาพของเซลล์ผิวสูญเสียไป จะทำให้ผิวแห้ง ลอก หยาบกร้าน อาจมีอาการคัน แล้วยังทำให้สารต่างๆ และเชื้อโรคสามารถเข้าสู่ผิวหนังได้ง่ายขึ้น ก่อให้เกิดอาการแพ้ระคายเคือง เกิดการอักเสบและติดเชื้อได้ง่าย
ปัจจัยที่ทำให้สูญเสียความชุ่มชื้นของผิวมีหลายประการด้วยกัน เช่น มลภาวะต่างๆ สภาพอากาศร้อน แห้งหรือหนาวจัด แสงแดด การรบกวนจากสารเคมีต่างๆ การเสียดสี ขัดถู หรือผิวแห้งอักเสบ เป็นต้น สภาวะดังกล่าวจะทำให้ผิวกักเก็บน้ำได้น้อยลง เมื่อผิวสูญเสียความชุ่มชื้นและอยู่ในสภาวะไม่สมดุลหรือไม่มีดุลยภาพ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ และใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในกลุ่ม Code booster ซึ่งเป็นมอยส์เจอไรเซอร์ (moisturizer) ที่ช่วยปกป้อง (Protection) การสูญเสียน้ำได้ดีขึ้น กักเก็บน้ำไม่ให้ระเหยออกจากผิวหนัง ลดการเกิดขุย หรือลดการหลุดลอกของผิวชั้นขี้ไคล และช่วยดูดความชื้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเข้าสู่ผิวหนัง ทั้งนี้ยังเป็นการกระตุ้นการส่งสัญญาณที่ดีให้กับเซลล์ผิว เช่น กระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจน ทำให้ริ้วรอยของเราเกิดช้าลง
มอยส์เจอไรเซอร์แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. Emollient เป็นมอยส์เจอไรเซอร์ ที่ช่วยลดการหลุดลอกของเซลล์ผิวหนัง ช่วยให้ผิวเนียนนุ่ม สารที่ใช้ เช่น โจโจ้บาออยล์ มิเนอรัลออยล์ เหมาะกับผู้ที่มีผิวปกติ
2. Occlusive มีคุณสมบัติช่วยเคลือบผิว ลดการสูญเสียน้ำในผิว สารที่ใช้ เช่น ปิโตรลาทัม พวกลาโนลิน หรือ โจโจ้บาออยล์ เหมาะกับผู้ที่มีผิวแห้ง ลอก หรือมีขุย
3. Humectant ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นโดยการดึงน้ำจากภายนอกและดูดซับไว้ เช่น สารกลีเซอรีน ซอร์บิทอล เหมาะกับผู้ที่โดยปกติมีผิวแห้ง
ถ้าแบ่งง่ายๆ ตามรูปแบบของมอยส์เจอไรเซอร์ มี 3 ชนิด
1. ชนิดครีม (cream) มีลักษณะเนื้อครีมจะค่อนข้างเข้มข้น ไม่เหลว
2. ชนิดขี้ผึ้ง (anhydrous ointment) มีลักษณะครึ่งแข็งครึ่งเหลวค่อนข้างเหนียว เมื่อทาแล้วจะแผ่กระจายบนผิวหนัง จึงช่วยลดการระเหยของน้ำได้ดี
3. ชนิดน้ำมัน (oil) เป็นมอยเจอไรเซอร์ที่เมื่อทาแล้วจะรู้สึกเหนอะหนะ แต่จะเป็นสารที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวได้มากกว่ารูปแบบอื่น
โดยปกติในแต่ละผลิตภัณฑ์อาจมีสารหลายชนิดผสมกัน และไม่ว่าจะใช้แบบใด ผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องมีสารที่ช่วยให้ความชุ่มชื้นค่อนข้างสูงและให้ความชุ่มชื้นได้อย่างยาวนาน ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือเกิดการแพ้
ที่สำคัญคือต้องสร้างดุลยภาพให้กับผิว เหมือนการทำ Thermage และเก็บกักความชุ่มชื้นอย่างเป็นธรรมชาติ เพื่อคงดุลยภาพของเซลล์ผิว (Cell Homeostasis) ที่ดีไว้ ให้สดใส ห่างไกลโรค
วิธีบำรุงผิวด้วยมอยซ์เจอร์ไรเซอร์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
การบำรุงผิวด้วยมอยเจอร์ไรเซอร์ให้ได้เต็มประสิทธิภาพ นั้นก็เพื่อทำให้ผิวมีความอิ่มน้ำ เนียนนุ่ม ไม่แห้งกร้าน รวมถึงทำให้ผิวเกิดความแข็งแรงด้วย เหมาะสำหรับคนที่ผิวแห้งกร้าน หน้าลอก เป็นขุย รูขุมขนกว้าง และคนที่ผิวมีปัญหาทาเครื่องสำอางไม่ติด ต่างก็เกิดจากปัญหาผิวหน้าทั้งสิ้น
เราได้รู้กันไปแล้วว่ามอยเจอร์ไรเซอร์มีทั้งหมด 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ Emollient ช่วยลดการหลุดลอกของเซลล์ผิวหนัง ช่วยให้ผิวเนียนนุ่ม Occlusive ช่วยเคลือบผิว ลดการสูญเสียน้ำในผิว และ Humectant ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นจากการดึงน้ำจากภายนอกและดูดซับไว้ โดยผิวแต่ละประเภทก็จะเหมาะกับการใช้มอยส์เจอไรเซอร์ต่างๆ ดังนี้
- สำหรับคนที่ผิวหน้าเป็นสิวง่าย ควรเลือกใช้มอยส์เจอไรเซอร์ที่เนื้อสัมผัสบางเบา แห้งไว ซึมเข้าถึงการบำรุงง่าย ไม่ต้องมีความมันมากนัก
- สำหรับคนที่ผิวแห้ง ควรเลือกใช้มอยส์เจอไรเซอร์ที่มีส่วนผสมของน้ำมันร่วมด้วย เพื่อผิวที่มีความชุ่มชื่นที่เพิ่มขึ้น จากการกักเก็บน้ำบนใบหน้า ทำให้หน้าอิ่มน้ำได้ยาวนานมากยิ่งขึ้น
- สำหรับคนผิวหน้าเป็นกลาง คำว่าเป็นกลางในที่นี่คือไม่แห้งเกินไป ไม่มันจนเกิดไป สามารถเลือกใช้มอยส์เจอไรเซอร์ที่มีเนื้อสัมผัสได้ทั้งแบบน้ำและน้ำมัน ในอัตราส่วนที่เท่าๆกัน เพื่อคงสภาพผิวไว้
การที่เราจะบำรุงผิวทั้งที ก็ต้องทำให้ถูกหลักการและขั้นตอน โดยวิธีบำรุงผิวด้วยมอยเจอร์ไรเซอร์ มีวิธีการทำเพียงไม่กี่ขั้นตอน ได้แก่
- เตรียมมอยเจอร์ไรเซอร์ที่เหมาะสมสำหรับแต่ละสภาพผิว
- ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนทำการบำรุงผิว
- ทำความสะอาดใบหน้าให้สะอาดเกลี้ยงเกลา
- เริ่มทามอยเจอร์ไรเซอร์ โดยใช้นิ้วเกลี่ยทั่วบริเวณใบหน้า
- ทิ้งไว้อย่างน้อย 3 นาที
- ล้างออกด้วยน้ำเปล่า