ใครที่เห็นข่าวแล้วมีความกังวลว่าฉีดฟิลเลอร์จะปลอดภัยไหม เสี่ยงแพ้ฟิลเลอร์หรือไม่ แนะนำว่าหากเลือกคลินิกที่มีมาตรฐาน ทำหัตถการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และใช้ฟิลเลอร์แท้ก็ไม่ต้องเป็นกังวลมากนัก เพราะ โอกาสผู้ที่แพ้ฟิลเลอร์แท้มีน้อยมาก แต่หากทราบก่อนว่าแบบไหนเรียกว่าแพ้ฟิลเลอร์ก็จะช่วยให้คุณสามารถสังเกตตนเองและรับมือกับอาการแพ้ฟิลเลอร์ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเราจะมาเจาะกันว่าแพ้ฟิลเลอร์คืออะไร มีอาการแบบไหนบ้าง และสามารถดูแลตนเองอย่างไรหากแพ้ฟิลเลอร์กันในบทความนี้
ใครที่เสี่ยงแพ้ฟิลเลอร์ ต้องรู้ก่อนฉีด!
ถึงแม้ว่าฟิลเลอร์แท้จะมีโอกาสแพ้ฟิลเลอร์น้อยมาก ๆ แต่กับบุคคลเหล่านี้จะมีความเสี่ยงแพ้ฟิลเลอร์มากกว่าคนทั่วไป หากต้องการฉีดฟิลเลอร์ต้องแจ้งแพทย์ให้ทราบก่อนทำหัตถการทุกครั้ง
- ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันไวกว่าปกติ
- ผู้ที่มีประวัติแพ้กรดไฮยาลูรอนิกสังเคราะห์
- ผู้ที่มีประวัติแพ้ยาชา เช่น Lidocaine
- ผู้ที่มีประวัติแพ้อย่างรุนแรง หรือมีอาการแพ้เฉียบพลัน
- ผู้ที่มีปัญหาเลือดออกง่าย เลือดหยุดไหลยาก
- ผู้ที่มีปัญหาการติดเชื้อบริเวณผิวหนัง
- ผู้ที่มีประวัติแพ้โปรตีนจากแบคทีเรียแกรมบวก
อาการแพ้ฟิลเลอร์และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
สำหรับฟิลเลอร์ที่ใช้กันในประเทศไทยเรานั้นมักจะเป็นฟิลเลอร์ชนิดชั่วคราวที่มีส่วนประกอบของกรดไฮยาลูรอนิกเป็นหลัก ซึ่งกรดไฮยาลูรอนิกนั้นเป็นสารที่สามารถพบได้ในร่างกาย โอกาสที่จะแพ้จึงมีน้อยมาก ๆ แต่ถึงอย่างนั้นกรดไฮยาลูรอนิกในฟิลเลอร์เป็นชนิดสังเคราะห์ และมีการผสมสารประกอบอื่น ๆ เพื่อคุณสมบัติที่ดีขึ้น จึงมีโอกาสแพ้จากสาเหตุเหล่านี้เช่นกัน
โดยอาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังแพ้ฟิลเลอร์มีดังนี้
- เป็นผื่นลมพิษบริเวณที่ฉีด
- มีการอักเสบ บวม ร้อนแดง
- มีอาการปวด เจ็บ
- มีอาการคัน
ซึ่งอาการแพ้เหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ทันทีหลังฉีดฟิลเลอร์ไปเพียงไม่กี่นาที ไม่กี่ชั่วโมง หรืออาจเกิดขึ้นในภายหลังจากฉีดฟิลเลอร์ไปแล้วหลักเดือนจนถึงหลักปี ในเบื้องต้นสามารถรับประทานยาแก้แพ้ได้ แต่หากอาการแพ้รุนแรงอาจใช้สเตียรอยด์หรือฉีดสลายฟิลเลอร์ด้วยไฮยาลูรอนิเดส
นอกจากอาการแพ้ฟิลเลอร์แล้วยังมีอาการที่ไม่พึงประสงค์หลังฉีดฟิลเลอร์ที่ผู้เข้ารับบริการมักพบเจอได้บ่อยคือผลข้างเคียงหลังฉีดฟิลเลอร์นั่นเอง โดยผลข้างเคียงที่พบมีทั้งผลข้างเคียงที่ไม่อันตราย สามารถหายได้เองหรือใช้ยาบรรเทาอาการได้ และผลข้างเคียงอันตรายที่อาจต้องรีบแก้ไขโดยด่วน ดังนี้
- อาการบวม ช้ำ ห้อเลือดจากเข็มฉีดยาเจาะลงสู่ผิวหนัง
- ฟิลเลอร์ไม่กระจายตัว กลายเป็นก้อนนูน
- การติดเชื้อ
- เนื้อฟิลเลอร์อุดตันเส้นเลือด
สำหรับอาการบวม ช้ำ ห้อเลือดนั้นเป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยที่สุด แต่สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการประคบเย็น และสามารถหายได้เองภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่หากเนื้อฟิลเลอร์ไม่กระจายตัวเป็นก้อนนูนหรือกระจายไปยังส่วนที่ไม่ต้องการ มีการติดเชื้อ หรือเนื้อฟิลเลอร์อุดตันเส้นเลือด ควรเข้ารับการแก้ไขโดยเร็ว โดยเฉพาะการอุดตันในเส้นเลือดจะส่งผลให้เนื้อเยื่อตาย และอาจทำให้ตาบอดได้
โดยปกติแล้วอาการแพ้ฟิลเลอร์และการผลข้างเคียงอันตรายหลังฉีดมักมีสาเหตุมาจากการใช้ฟิลเลอร์ปลอมและ/หรือทำหัตถการโดยแพทย์ที่ไม่ชำนาญ หรือผู้ที่ไม่ใช่แพทย์ ซึ่งวิธีการแก้ไขจะค่อนข้างยุ่งยาก ซับซ้อนมากกว่าการใช้ฟิลเลอร์แท้นั่นเอง นอกจากนี้ควรศึกษาเกี่ยวกับตำแหน่งที่ต้องการฉีดให้ดีก่อน เช่นการฉีดฟิลเลอร์ที่ปาก, ฟิลเลอร์ร่องแก้ม
ฟิลเลอร์อักเสบคืออะไร? เกิดขึ้นได้อย่างไร?
ฟิลเลอร์อักเสบ เป็นอาการที่ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นหรือไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งฟิลเลอร์นับเป็นสารเติมเต็มที่ไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่นับเป็นสิ่งใหม่ที่เข้าสู่ ร่างกายจึงอาจตอบสนองด้วยการอักเสบ บวม ผิวเปลี่ยนสี แต่หากการอักเสบนี้มีการติดเชื้อร่วมด้วยอาจทำให้เกิดหนองจากการที่เซลล์เม็ดเลือดขาวออกมากำจัดเชื้อ
โดยอาการฟิลเลอร์อักเสบทั่วไปนั้นจะสามารถหายได้เองหรืออาจหายได้ด้วยการรับสเตียรอยด์เพื่อลดการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของระบบภูมิคุ้มกัน แต่สำหรับอาการอักเสบจากการติดเชื้ออาจต้องได้รับยาฆ่าเชื้อร่วมด้วย โดยแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละราย
ฟิลเลอร์อักเสบนั้นอาจเกิดในผู้ที่มีความไวต่อสิ่งแปลกปลอม แต่โดยส่วนมากมักจะมีอาการฟิลเลอร์จากการติดเชื้อเนื่องจากการปนเปื้อนเชื้อโรคระหว่างทำหัตถการจากคลินิกที่ไม่ได้มาตรฐาน แพทย์ที่ไม่มีประสบการณ์ และจากการฉีดฟิลเลอร์ปลอม
จุดสังเกตฟิลเลอร์อักเสบด้วยตนเองเบื้องต้น
จะทราบได้อย่างไรว่าอาการผิดปกติที่กำลังเกิดขึ้นหลังฉีดฟิลเลอร์ไปแล้วเป็นอาการฟิลเลอร์อักเสบ สามารถสังเกตตนเองในเบื้องต้นได้ดังนี้
- หลังฉีดฟิลเลอร์ไปแล้วมีอาการปวด บวมมากผิดปกติ
- ผิวหนังบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์เปลี่ยนเป็นสีแดง และอุณหภูมิบริเวณผิวอาจร้อนกว่าปกติ
- กดเจ็บบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ หรืออาจรู้สึกเจ็บปวดตั้งแต่ยังไม่กด เมื่อกดลงบริเวณที่เจ็บอาจเจ็บมากขึ้น
หากพบอาการเหล่านี้อาจแสดงว่าฟิลเลอร์อักเสบ ต้องรีบกลับไปพบแพทย์โดยทันทีเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม
อ่านเพิ่มเติมอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการปรับผิวหน้า “Radiesse นวัตกรรมเพื่อเพิ่มคอลลาเจน“
หลังฉีดฟิลเลอร์ ห้ามกินอะไร เลี่ยงความเสี่ยงแพ้ฟิลเลอร์
กันไว้ดีกว่าแก้ หลังฉีดฟิลเลอร์ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงของอาการแพ้ฟิลเลอร์ รวมถึงอาการอักเสบ โดยอาหารที่ควรเลี่ยงหลังฉีดฟิลเลอร์มีดังนี้
- อาหารรสเผ็ดจัด
- อาหารหมักและดอง
- อาหารที่ไม่ผ่านความร้อน หรือปรุงสุก
- อาหารที่มีน้ำตาลมาก เช่น ของหวาน
- เครื่องดื่มหรืออาหารที่มีนมเป็นส่วนประกอบ
- การรับประทานที่ต้องนั่งหน้าเตาร้อน เช่น ปิ้งย่าง ชาบู เป็นต้น
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- การรับประทานสมุนไพร วิตามินใด ๆ ที่มีฤทธิ์กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
วิธีรักษาและการดูแลตนเองหากแพ้ฟิลเลอร์
หากหลังฉีดฟิลเลอร์ไปแล้วพบว่าตนเองแพ้ฟิลเลอร์ หรือมีอาการฟิลเลอร์อักเสบ สามารถรักษาและดูแลตนเองได้ดังนี้
- ในเบื้องต้นแพทย์จะจ่ายยาแก้แพ้ให้ในกรณีที่อาการแพ้ฟิลเลอร์ไม่รุนแรง
- หากมีอาการฟิลเลอร์อักเสบ แพทย์อาจจ่ายยาฆ่าเชื้อและยาลดการอักเสบให้รับประทาน
- ถ้ามีอาการแพ้ฟิลเลอร์รุนแรงหรือมีอาการอักเสบมาก อาจรักษาโดยการฉีดสเตียรอยด์เพื่อลดการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน หรืออาจรักษาโดยการสลายฟิลเลอร์ออกด้วยไฮยาลูรอนิเดส
- หากมีอาการแพ้ฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์อักเสบจากการติดเชื้อที่มาจากฟิลเลอร์ไม่มาตรฐาน ฟิลเลอร์ปลอม ฟิลเลอร์ชนิดถาวรอาจต้องทำการขูดฟิลเลอร์หรือผ่าตัดออก
โดยปกติแล้วหลังรับการรักษาให้งดรับประทานอาหารบางชนิดตามที่แนะนำไปในหัวข้อด้านบน รวมถึงงดการสูบบุหรี่ การออกกำลังกายอย่างหนัก หรือการอยู่ในที่อุณหภูมิสูง เพื่อให้ผลการรักษาหายเร็วขึ้น
สรุปเกี่ยวกับการแพ้ฟิลเลอร์
อาการแพ้ฟิลเลอร์นั้นเป็นอาการที่พบได้ไม่บ่อย ก่อนเลือกฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาหรือฟิลเลอร์คาง ควรเลือกคลินิกที่ได้รับการทำหัตถการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเป็นคลินิกที่มีมาตรฐาน ใช้ฟิลเลอร์แท้ที่ผ่านอย. หากมีอาการแพ้จากฟิลเลอร์แท้ก็สามารถรักษาได้ด้วยการฉีดสลายฟิลเลอร์ แต่กลับกันหากหลวมตัวไปใช้บริการคลินิกเถื่อนอาจเจอฟิลเลอร์ปลอม อาจทำให้คุณแพ้ฟิลเลอร์ง่ายขึ้น และมีโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงอันตรายมากกว่าฟิลเลอร์แท้นั่นเอง
สนใจการฉีดฟิลเลอร์ ไว้ใจ Infiniz Clinic คลินิกหัตถการความงามโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมากประสบการณ์ ปรับรูปหน้าของแต่ละคนด้วยเทคนิคพิเศษเฉพาะ Infiniz Clinic เท่านั้น เพื่อให้เข้ากับสรีระใบหน้าที่แตกต่างกันไป Infiniz Clinic นำทีมแพทย์โดยคุณหมออู๋ นพ.ณัฐพล ลาภเจริญกิจ แพทย์วิทยากรผู้สอนและอาจารย์พิเศษรับเชิญทางด้านเวชศาสตร์ความงามทางด้านการฉีดฟิลเลอร์ และสารกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนมากประสบการณ์ Infiniz Clinic การันตีด้วยรางวัลปรับรูปหน้าโดยไม่ศัลยกรรมและรางวัลอื่น ๆ อีกมากมายจากบริษัทผู้จัดจำหน่ายสารลดเลือนริ้วรอย และฟิลเลอร์ชั้นนำของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2018-2023
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ช่องทางนี้
- Facebook : Infiniz Clinic :: Skin & Facial Design Expert
- Line ID: @Infinizclinic
- โทร : 098-828-5444
References
JUVÉDERM® Collection of Fillers Important Information. (n.d.). Allergan Aesthetics.
Lafaille, P., & Benedetto, A. (2010). Fillers: contraindications, side effects and precautions. Journal of cutaneous and aesthetic surgery, 3(1), 16–19. https://doi.org/10.4103/0974-2077.63222